top of page

The begining of the project (and the process)

Renaissance painting / Greek mythology gods / Music  

     เมื่อ โปรเจคต์ ที่เรานักศึกษาทุกคนต่างทราบกันดีว่าต้องเดินทางมาถึงในสักวันเริ่มขึ้น ทำให้ฉันกลับมาทบทวนเรื่องราวบทบาทในการเป็นนักดนตรีของตัวเอง มองย้อนจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันพบว่าหลายๆความคิดก็เปลี่ยนแปลงไปมากโข ฉันในช่วงนี้พยายามที่จะเป็นนัก เล่าเรื่อง  อะไรก็ตามผ่านการทำงานกับดนตรีและศิลปะ แม้ว่าในตอนนี้จะไม่ได้เชี่ยวชาญในเรื่องของศิลปะมากเท่าไหร่นักแต่ก็มีแรงจูงใจอยู่มากพอที่จะค้นคว้ามันด้วยตนเอง

     ในเดือนมิถุนายนของปีที่แล้ว ฉันได้รับโอกาสสำคัญในการไปสถานที่ที่รายล้อมด้วยงานศิลปะมากมาย หลากยุคหลากสมัย หนึ่งในสิ่งที่ตราตรึงใจอยู่นั้น คือภาพของเหล่าทวยเทพซึ่งประดับอยู่บนเพดานของพระราชวังแห่งหนึ่ง ซึ่งแม้จะเดินทางกลับมาหลายเดือนแล้วแต่ภาพวาดนั้นยังคงอยู่ในความสนใจและความสงสัย

วัตถุประสงค์ของภาพนั้น? แล้วเป็นสัญลักษณ์ของอะไร? แล้วมันสร้างขึ้นมาเพื่ออะไรกัน?

     หลังจากนั้นไม่นานก็มีรายวิชาหนึ่งที่ต้องทำโครงการวิจัยในเรื่องที่ตนเองสนใจ ฉันจึงไม่รีรอที่จะค้นคว้าเกี่ยวกับภาพวาดเหล่านั้นและได้พบกับภาพวาดของ ซานโดร บอตติเชลลี โดยบังเอิญและถูกใจเป็นอย่างมาก

     ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับเทพปกรณัมกรีกซึ่งปรากฎวีนัสและเทพองค์อื่นๆเป็นส่วนหนึ่งของภาพ หรือจะเป็นสีนวลๆกับท่าทางที่พริ้วไหวของวีนัสที่ฉาบอยู่ซึ่งฉันมองว่ามันสวยงามดี แต่มากไปกว่านั้น "ใจความสำคัญ" ของภาพแต่ละภาพทำให้พบถึงที่มาที่ไปของแต่ละสิ่งที่ถูกนำมาจัดวางประกอบรวมกันเป็นภาพใหญ่

     ก่อนหน้านั้นเองไม่นานฉันก็ได้ยินใครบางคนบอกผ่านหูมาว่าคอลลาจนั้นก็เป็นการปะติดปะต่อ เอาเรื่องราวที่อาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้เข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างเรื่องราวหรือชุดข้อมูลใหม่ขึ้นมา.. 

     ครั้งแรกของการคุยกับ อ.ที่ปรึกษา ฉันเดินเข้าไปพร้อมกับ ref. ของงานประเภทคอลลาจบางส่วนที่ได้ลองลงมือทำ และนำเสนอไอเดียเกี่ยวกับ Hidden Message ที่อยู่ในภาพวาดแต่ละภาพ จากการที่ได้เข้าไปค้นคว้าเกี่ยวกับตัวผลงานของ บอตติเชลลี รวมไปถึงลักษณะการทำงานของศิลปินคนอื่นๆในยุคเดียวกัน ส่วนมากพบว่ามีการใช้เทคนิคที่คล้ายคลึงกันในการสร้างผลงานอย่าง Hidden Message ที่กล่าวไปซึ่งเป็นการซ่อนข้อความบางอย่างที่ศิลปินต้องการจะสื่อสารหรือได้รับมอบหมายมาให้สื่อผ่านภาพวาด หรือจะเป็นลักษณะของงานศิลปะแบบ Allegory art ซึ่งเป็นการที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายต่างๆในภาพ เนื้อหามักจะเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ชีวิต ความตาย หรือความรัก(เป็นส่วนมาก) ฯลฯ 

 

 

     

     ก่อนที่จะมาถึงการคุยงานกับ อ.ที่ปรึกษา ในครั้งนี้ คราวก่อนฉันได้กลับไปพร้อมกับการบ้านอย่างเรื่องของการตีความบทเพลงแต่ละบทเพลงว่าอยากจะให้มี เรื่องราว เกี่ยวกับอะไร และอยากจะนำเสนอมันออกมาเป็น Visual representation อย่างไร โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ตัวบทเพลงหรือประวัติของเพลงก็ได้

     ถ้าอย่างนั้นก็ขอมุ่งไปที่เรื่องของประวัติศาสตร์ก็แล้วกัน ทำงานเชิงประวัติศาสตร์นิดๆ

     ตอนนั้นเองก็พุ่งไปที่การสืบค้นเรื่องราวในอดีตรวมถึงเรื่องของประวัติศาสตร์ แต่กลับมาเจอ อ.ที่ปรึกษาคราวนี้ก็ยังมีข้อมูลไม่มากพออยู่ดี ขณะที่คุยกันนั้นก็ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจมาอีกว่า หรือว่าเราจะค้นคว้าเรื่องราวสำคัญที่เกิดขึ้นปีเดียวกับที่ประพันธ์บทเพลงแต่ละเพลงดีล่ะ?

     ดังนั้นข้อมูลมากมายที่หลั่งไหลมากองรวมกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์อย่างที่อังกฤษได้มีการค้นพบและทำหนังสือรวบรวมเกี่ยวกับชนิดพันธ์ของผีเสื้อเป็นครั้งแรก ไปจนถึงโรคระบาด สงคราม เศรษฐกิจ และอื่นๆอีกมากมาย

     แต่ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ เรื่องราวชีวิตของผู้ประพันธ์ในขณะนั้น ซึ่งฉันคิดว่าถ้าได้ลองนำเสนอบทเพลงแต่ละเพลงจากการแสดงแล้ว หากเราทำภาพคอลลาจจาก เรื่องราว หรือ เหตุการณ์ บางอย่างซึ่งมีความสอดคล้องกับช่วงเวลาในช่วงชีวิตของผู้ประพันธ์แต่ละคนดูบ้างในรีไซทอลนี้ก็อาจจะน่าสนใจอยู่ไม่น้อย

     กลับมาอีกครั้งกับข้อมูลที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น และภาพ draft สำหรับโปรเจคต์นี้หนึ่งภาพซึ่งเป็นการทดลองทำจากข้อมูลที่มีอยู่ขณะนั้น จากการคุยในครั้งนี้ฉันได้ไอเดียเพิ่มเติมในเรื่องของการสื่อสารด้วยภาพในยุคเรเนซองส์ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเองตามโบสถ์ก็ได้มีการใช้รูปภาพเข้ามาเป็นส่วนช่วยให้ผู้คนเข้าใจเรื่องราวในพระคัมภีร์ได้ แม้ว่าบางคนจะไม่สามารถอ่านหนังสือได้ก็ตาม 

     คำแนะนำทุกอย่างล้วนเป็นประโยชน์และจุดประกาย แต่ในเมื่อได้ลงมือค้นคว้าเองเพิ่มเติม ข้อมูลที่มีมากเกินจนกระจัดกระจายเริ่มทำให้ฉันต้อง คัด ข้อมูลบางอย่างทิ้ง และ เลือก เก็บข้อมูลบางอย่างเอาไว้เพื่อที่ตัวเองจะได้โฟกัสกับงานมากขึ้น ดังนั้น หลักการสร้างคอลลาจแต่ละภาพหลังจากนั้นจึงจะเน้นใช้นิยามของสีและสัญลักษณ์ต่างๆอิงกับความหมายเดียวกันกับในยุคเรเนซองส์แทบทั้งหมด

     เนื่องจากแนวความคิดของตัวโปรเจคต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานขอศิลปินในสมัยนั้น และได้เลือกที่จะจำกัดขอบเขตการค้นคว้าข้อมูลให้มากขึ้น คือ เน้นลงไปที่ชีวประวัติของตัวผู้ประพันธ์บทเพลงมากกว่าการหาข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีเดียวกันนั่นเอง

     ในขณะที่พยายามจำกัดขอบเขตของข้อมูลนั้น ในการลงมือทำจริงๆแล้วก็พบว่าบางสัญลักษณ์หรือบางความหมายที่เราต้องการ หากจะอิงกับยุคเรเนซองส์เพียงเท่านั้นก็อาจจะไม่สามารถทำได้ทั้งหมด จึงเปลี่ยนมาเป็นการ พยายาม ให้สัญลักษณ์แทบทุกอันอิงความหมายของเรเนซองส์มากกว่า

     นอกจากนั้นแล้วถึงเวลาที่ต้องพิจารณาความสามารถและเลือกเครื่องมือในการสร้างผลงาน ฉันเลือกที่จะใช้จากอุปกรณ์ที่มีอยู่นั่นก็คือการทำในแลปทอปผ่านโปรแกรมหนึ่ง โดยผลงานก็จะเป็นในรูปแบบของ Digital Collage แทนการที่จะเป็นการปะติดด้วยมือนั่นเอง

Hidden Messages in Painting / Symbols / Collage

eternity.png

Chatkul W., Circle of Eternity (2019) Bangkok,Thailand.

Historical research / Background story 

Meaning / Styles

sonata-in-a-minor.jpg

ภาพร่างภาพแรกของเพลง Sonata for Solo Flute in A minor 

Do it ! 

other ref. and ideas

books

ปะติดปะต่อความคิด

42278.jpg

My visual representation for

Sonata for Solo Flute in A minor 

August, 2019.

ตัวดนตรี การวิ่งของโน้ต ให้ความรู้สึกที่เป็นทรงกลม

ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถานที่และสถาปัตยกรรมในยุคนั้น

My Collage No.2

Set up the stage projections

date : 14/07/2020

time : 8.xx - 10.xx pm

place : svh

Behind the scenes

Recording day

date : 15/07/2020

time : 9.00 - 12.00 pm

place : svh

taken by P'joy 

ถ้าไม่มีทุกๆคนผลงานชิ้นนี้คงไม่สามารถจะบรรลุได้ ขอบคุณทุกคนด้วยใจอีกครั้ง:') 

bottom of page