“ เพื่อบรรลุความปรารถนาอันแรงกล้าแล้ว ก็สามารถแลกได้ทุกอย่าง.. ”
ความปรารถนาหรือความกระหายในบางสิ่งบางอย่างคือแรงขับเคลื่อนสำคัญของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง เงินทอง อำนาจ หรือความรัก ที่สามารถทำให้มนุษย์นั้นยอมแลกบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งการครอบครองในสิ่งที่ตนต้องการ แม้สุดท้ายจะรู้ดีว่าสิ่งต่างๆนั้นมิอาจยั่งยืนก็ตาม
เช่นเดียวกับการเป็นนักดนตรีแล้ว ปฎิเสธไม่ได้ว่าสิ่งสำคัญที่จะถูกคำนึงถึงเป็นลำดับต้นๆก็คงไม่พ้นเรื่อง ฝีมือในการบรรเลงเครื่องดนตรีอันนำมาซึ่งชื่อเสียงและการยอมรับจากคนในสังคม ทั้งเพื่อชนะใจคนฟังและเพื่อชนะใจคนในแวดวงเดียวกัน
จากเรื่องเล่าหรือประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยอมแลกชีวิตของตนเองกับความรู้หรือความสามารถ เฉกเช่นเดียวกับนักดนตรีในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
Introduction
Our daily lives / The kind of hapiness / Social standards
เมื่อการแข่งขันในสังคมโลกรวมถึงแวดวงดนตรีของเรานั้นเข้มข้นและดุเดือดมากขึ้นทุก ๆ ปี การดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่วุ่นวายและเร่งรีบ รวมถึงรูปแบบของความสุขและการเติมเต็มชีวิตของพวกเรา ล้วนถูกกำหนดด้วยมาตรฐานทางสังคม
สิ่งนั้นคือสิ่งที่ดีและเหมาะสมกับ “มนุษย์” ที่ซึ่งมีความเป็นปัจเจกและหลากหลายเป็นอย่างมาก
จริง ๆ หรือ ?
Deal with The Devil
Power / Curiosity / Saving / Honor / Family / Romance
Self and Signature
หากย้อนไปในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หรือในงานศิลปะ จะเห็นได้ว่าเรื่องราวของความปรารถนาและการทำข้อตกลงระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างปีศาจหรือซาตานนั้นถูกหยิบยกมาเพื่อเตือนใจคนอยู่เสมอ เช่นเดียวกับเนื้อเรื่องของอุปรากรอย่าง “Der Freischütz” ผลงานอันโด่งดังของ Carl Maria von Weber ที่เล่าถึงนายพรานหนุ่มผู้ต้องการทำข้อแลกเปลี่ยนระหว่างตัวเขาและซาตานเพื่อให้ได้มาซึ่งฝีมือในการยิงปืนอันแม่นยำ นำไปสู่การยอมรับจากคนในแวดวงและได้แต่งงานกับหญิงสาวที่ตนเองรัก
ในการนำเสนอบทเพลงแรกอย่าง Fantaisie On Themes from “Der Freischütz” by Carl Maria Von Weber จึงเป็นการจำแนกความปรารถนาของมนุษย์ออกเป็นหกอย่างด้วยกัน ผ่านการตีความจากเนื้อเรื่องของอุปรากรและอ้างอิงจาก “New Theory Of Motivation Lists 16 Basic Desires That Guide Us” ได้แก่


มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย อันหมายถึง การมีคุณค่าในตัวตนของตนเอง เมื่อท้ายที่สุดแล้วครั้งหนึ่งในชีวิตของศิลปินที่ต้องการแสดงความเป็นตัวตนผ่านผลงานของตนเองและถูกจดจำอย่างมีความหมายอยู่ในใจของผู้ฟัง
หากอ้างอิงจากทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ ความพึงพอใจในขั้นความเคารพนับถือ นอกเหนือจากการเคารพตนเองจากภายใน มนุษย์ต่างก็ต้องการความเคารพจากภายนอกและแสวงหาชื่อเสียงซึ่งขึ้นอยู่กับผู้อื่น
ผลงานของ Jacques Ibert ที่ทั้งชีวิตได้ทุ่มเทตามหาความหมายรวมถึงแสดงความเป็น ตัวตน ในฐานะของนักดนตรี ซึ่งฝากเอกลักษณ์เอาไว้ในผลงานอย่างมากมาย
Piece for Solo Flute เป็นบทเพลงสำหรับการบรรเลงเดี่ยว ซึ่งบทเพลงประเภทนี้เองที่เหล่านักดนตรีจะใช้เป็นพื้นที่ในการสำแดงความสามารถของตนเอง สิ่งนี้เองที่ทำให้ข้าพเจ้าเกิดข้อสังเกตและใช้เป็นพื้นที่ในการทบทวนตนเองว่าแท้จริงแล้ว ความเป็นเอกลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับและถูกจดจำนั้นส่วนหนึ่งก็ถูกกำหนดด้วยสายตาของคนนอกว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่ดี สิ่งนั้นคือสิ่งที่ทำให้ถูกยอมรับได้
หลายครั้งหลายคราที่ความปรารถนาของเราแตกสลายเพียงเพราะการพยายามทำให้ถูกอกถูกใจกับมาตรฐานของคนอื่น จนหลงลืมไปว่าสิ่งที่คนอื่นบอกว่าต้องเป็นก็อาจไม่ใช่สิ่งสุดท้ายที่เราต้องการ
Ego
ท่ามกลางมหาสมุทรแห่งการแข่งขันในปัจจุบัน ที่ซึ่งทุกคนล้วนไล่ล่าความประสบ
ความสำเร็จ แท้จริงแล้วความเป็น อัตตา ในการเป็นศิลปินในยุคสมัยนี้ควรจะเป็นอย่างไร
ในบทเพลงสุดท้ายอย่าง Sonata for Flute and Piano, Op.23 ผลงานของ Lowell Liebermann นี้ จะเป็นพื้นที่ในการค้นหาคำตอบระหว่างสมดุลย์ของความปรารถนา ความคาดหวัง และตัวตนที่ได้รับการยอมรับในฐานะของนักดนตรี ที่อาจเป็นความคาดหวังหรือมาตรฐานของคนอื่นซึ่งอาจขัดแย้งกับสิ่งที่เราอยากจะเป็น
Text Composition
